“สวนระหว่างอาคาร”

การใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด เช่น การจัดสวนในมุมเล็กๆ จัดสวนระหว่างอาคาร น่าจะเป็นโจทย์สำคัญที่นักออกแบบจัดสวน ต้องตีโจทย์ให้แตกเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าถึงฟังชั่นการใช้งาน ความสวยงาม โดดเด่นและความอยู่รอดของต้นไม้ที่มักจะได้แสงแดดน้อยกว่าสวนปกติ การจัดสวนระหว่างอาคารมีให้เห็นเยอะขึ้นเพราะความต้องการพื้นที่สีเขียวและการใช้สวนขึ้นระหว่างอาคารเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวกั้นระหว่างตัวบ้านสองหลัง แต่ในการจัดสวนระหว่างอาคารก็ต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับแสงสว่าง การระบายน้ำ การรดน้ำ ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

สวนระหว่างอาคารจะอยู่ในพื้นที่ที่มีบริเวณจำกัด ต้นไม้ในงานสวนรูปแบบนี้ มักมีต้นไม้ประธานที่อยู่ในสวนระหว่างอาคาร เป็นจุดนำสายตา และมีองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อกำหนดสไตล์ของสวน ไม่ว่าจะเป็น บ่อน้ำ น้ำพุ สำหรับสวนสไตล์อังกฤษ น้ำตก บ่อเลี้ยงปลา สำหรับสวนสไตล์ทรอปิคอล ที่นั่งพักผ่อน สนามเด็กเล่น สำหรับเพิ่มฟังชั่นการใช้งานให้หลายหลายมากขึ้น ซึ่งการจัดสวนระหว่างอาคารเรา สิ่งแรกที่เราควรคำนึงถึง คือ เราควรเลือกชนิดของต้นไม้และวางระยะการปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่การปลูก เราควรวางแบบต้นไม้ตามชนิดที่ต้องการแสงมากแสงน้อยเหมือนกันไว้ด้วยกัน ซึ่งพืชกลุ่มที่ต้องการแสงเท่ากัน อาจต้องการความชุ่มชื้นในดินหรือต้องการชนิดของดินที่ต่างกัน เราก็ต้องออกแบบพื้นที่การปลูกโดยการแยกแปลงหรือแยกกระบะปลูกให้แยกออกจากกัน คำนึงถึงภาพรวมการมองต้นไม้จากด้านนอกเข้าไปในสวน โดยคำนึงถึงรูปทรงหรือฟอร์มของต้นไม้ ลักษณะกิ่งก้าน ความหนา สีสันและขนาดของใบ การใช้ต้นไม้ที่มีใบขนาดแตกต่างกัน จะช่วยให้เกิดการตัดกันหรือเรียกว่าเกิดการ CONTRAST เกิดเป็นความน่าสนใจในมุมมองของคนจัดสวน นอกจากฟอร์มของต้นไม้ยังต้องคำนึงถึงความสูงของต้นไม้ ที่ควรมีหลากหลายระดับ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ ไม่แข็งกระด้างหรือเป็นระเบียบจนเกินไป และควรสลับใช้ต้นไม้ที่มีลำต้นโปร่งมีพุ่มอยู่ด้านบน คู่กันกับไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีทรงพุ่มอยู่ด้านล่าง


ต่อมาสิ่งที่เราควรคำนึงถึงคือ พื้นที่ปลูกและการระบายน้ำ เพราะสวนระหว่างอาคารอาจเป็นพื้นที่ที่เว้นว่างไว้ ถ้าวางแผนจะสร้างเป็นสวนก็ต้องเตรียมวางระบบการระบายน้ำ ให้มีการระบายน้ำได้ ไม่เกิดน้ำขังภายในบริเวณสวนจนต้นไม้รากเน่า วิธีการง่ายๆ คือ การปูด้วยวัสดุที่มีรูพรุน เช่น อิฐหัก กรวด ขนาดประมาณ 1/2นิ้ว รองอยู่ใต้ชั้นดิน เพื่อที่จะให้เวลารดน้ำหรือฝนตกหนัก น้ำจะซึมผ่านชั้นดินไปขังอยู่ในชั้นวัสดุรูพรุน แทนที่น้ำจะไปขังอยู่ในชั้นดินที่มีรากต้นไม้อยู่ และน้ำยังมีโอกาสจะซึมกลับขึ้นไปช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในดินอีกด้วย สำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่ ชั้นกรวดเพื่อรองรับและระบายน้ำควรลึกประมาณ 3-4 นิ้ว หรือลึกประมาณ 1/3 ของความลึกของกระบะนั้น ส่วนวิธีการที่ดูมืออาชีพขึ้นมา ในระหว่างชั้นของดินและกรวด ควรมีแผ่นจีโอเท็กซ์ไทล์ที่มีคุณสมบัติให้น้ำซึมผ่านได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ดินไหลลงไปอุดตันในชั้นของกรวดและป้องกันไม่ให้ท่อระบายน้ำอุดตัน


สำหรับดินที่ใช้ในการปลูกต้นไม้ของสวนระหว่างอาคารควรเป็นดินที่มีความพรุน เบา โดยอาจผสมอินทรีย์วัตถุที่สลายตัวแล้วลงในดินมากๆ ที่ต้องใช้ดินลักษณะเบาเนื่องจากต้นไม้ที่นำมาใช้ในสวนระหว่างอาคาร มักเป็นต้นไม้ที่อยู่ในร่มรำไร ต้นไม้กลุ่มที่ทนร่มได้ดีจะมี พลูด่าง พลูราชินีหินอ่อน ฟิโลเขียวมรกต ฟิโลทอง ต้นหนวดปลาหมึก ต้นหนวดปลาดุกแคระ เฟิร์นใบมะขาม ต้นพญาคล้าทอง ต้นหมากผู้หมากเมีย เป็นต้น รากของต้นไม้กลุ่มนี้มักเป็นรากฝอยละเอียด ที่มักส่งผลให้ดินอัดตัวกันง่ายทำให้ดินแน่นและมีน้ำหนักมากขึ้นเมื่อรดน้ำ

“รากดี” พร้อมให้คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านการออกแบบสวนสวยระหว่างอาคาร จัดภูมิทัศน์สวนส่วนกลางหมู่บ้าน สวนขนาดใหญ่ รวมถึงการบริการดูแลสวนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Line@ https://bit.ly/3vFVcWa
#สวนระหว่างอาคาร #สวนส่วนกลางหมู่บ้าน #จัดสวน #รากดี #RakD #รากฐานที่มั่นคงเพื่อความสุขที่ยั่งยืน #LandscapeBusiness #Landscape #RakDLandscape #จัดภูมิทัศน์ #ออกแบบจัดสวน #จัดสวนครบวงจร #ให้คำปรึกษาด้านภูมิทัศน์ #ดูแลรักษาภูมิทัศน์ #รับตัดแต่งต้นไม้สนามหญ้า #รับย้ายต้นไม้ใหญ่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save